กำหนดอัตราดอกเบี้ยสหกรณ์
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก
ดอกเบี้ยเงินให้กู้ทุกประเภท
อัตราร้อยละ 4.80 บาทต่อปี
ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
อัตราร้อยละ 2.00 บาทต่อปี
ดอกเบี้ยเงินฝากพิเศษ
อัตราร้อยละ 2.50 บาทต่อปี
ประกาศ แต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยลงคะแนน เพื่อสรรหาคณะกรรมการดำเนินการ ประจำปี 2568-69
ประกาศ ตารางจัดสรรจำนวนผู้แทน หน่วยรับสมัคร และลงคะแนนผู้แทนสมาชิก ประจำปี 2567
ประเภทเงินให้กู้
การกู้เงินกู้พิเศษ (พ) มี 2 ประเภท คือ กู้เพื่อการเคหะสงเคราะห์ และ กู้เพื่อการลงทุนประกอบอาชีพหลักเกณฑ์และเงื่อนไขรายละเอียดการกู้พิเศษ ดังนี้
- สมาชิกผู้กู้ กู้ได้ 80 – 95 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 3,500,000 บาท ส่งชำระสูงสุด 360 งวด
- ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป หรือส่งชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 18 งวด
- สมาชิกผู้กู้ต้องมีเงินเดือนเหลือหลังหักชำระหนี้งวดแรก 30% ของเงินเดือน หรือเงินเดือนเหลือแนบเอกสารรายละเอียดเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
- มีหุ้น 20% ของวงเงินที่อนุมัติให้กู้
- หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันเงินกู้พิเศษ เป็นของสมาชิกหรือคู่สมรสเท่านั้น
- ต้องมีหลักทรัพย์ที่เป็นโฉนด หรือ น.ส.3ก. และอาคารเคหะสงเคราะห์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาให้กูได้ คือ ที่ดินที่มีบ้านพักอาศัย ที่สวนที่นา ที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ สิ่งปลูกสร้าง (บ้านพักอาศัย)
- กรณีไถ่ถอนจากธนาคาร ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมคือ สัญญาจำนอง, สัญญาเงินกู้ และใบเสร็จชำระหนี้ธนาคารเดือนล่าสุดจากธนาคาร
- ต้องมีผู้ค้ำประกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 4 คน ตามวงเงินที่ขอกู้
เอกสารประกอบการยื่นกู้พิเศษ
- ใบแจ้งรายละเอียดเงินเดือน
- สำเนาบัตรผู้กู้ / คู่สมรส / ผู้ถือกรรมสิทธิ์ / ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้ / คู่สมรส / ผู้ถือกรรมสิทธิ์
- สำเนาทะเบียนสมรส / สำเนาทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนบ้านของหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน (กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับสำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้)
- สำเนาโฉนดขนาดเท่าฉบับจริงครบทุกหน้า (ต้องไม่ใช่ฉบับสำนักงานที่ดิน) หนังสือรับรองราคาประเมินจากกรมที่ดิน/พิมพ์จากเว็บไชต์ มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
- แผนที่ตั้งหลักทรัพย์ที่นำมาจำนองกับสหกรณ์
- ที่ดินว่างเปล่าต้องมีหมุดหลักเขตให้เห็นตัวเลขชัดเจนตรวจสอบได้ อย่างน้อย 3 หมุดหลักเขต
- กรณีมีการต่อเติม แก้ไข ตัดแปลงสิ่งปลูกสร้าง ต้องมีหนังสือขออนุญาต ต่อเติมสิ่งปลูกสร้าง
- ที่ดิน ตามราคาประเมินของทางราชการ 100%
- สิ่งปลูกสร้าง ตามราคาประเมินโดยคณะกรรมการดำเนินการไม่เกิน 80%
- ค่าใช้จ่ายการประเมินหลักทรัพย์และจดนิติกรรมจำนอง รายละ 4,500 บาท ที่ดินตั้งอยู่ต่างจังหวัด รายละ 5,500 บาท
การกู้เงินสามัญ (ส)
- กู้ได้ 50 เท่าของเงินเตือน แต่ไม่เกิน 2,500,000 บาท
- ต้องมีหุ้น 20% ของวงเงินอนุมัติให้กู้
- ต้องทำประกันสินเชื่อ ตามวงเงินกู้ในส่วนที่เกินเงินค่าหุ้นและสวัสดิการที่สหกรณ์จัดให้
- จ่ายเงินกู้เดือนละ 1 ครั้ง ในวันสิ้นเดือน
- ต้องมีผู้ค้ำประกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 4 คน ตามวงเงินที่ขอกู้
- ส่งชำระหนี้ไม่เกิน 180 งวด
- ส่งชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 งวด จึงสามารถขอกู้ใหม่ได้
- จ่ายเงินโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิกในสหกรณ์
- สมาชิกต้องมีเงินเดือนคงเหลือหลังหักชำระหนี้งวดแรก 30%
การกู้เงินไม่เกินมูลค่าของหุ้น(ท)
- กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 96 ของมูลค่าหุ้นที่สมาชิกผู้กู้มีอยู่ในสหกรณ์ ณ วันที่ยื่นคำขอกู้
- ส่งชำระหนี้เงินกู้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 งวด จึงสามารถขอกู้ใหม่ได้
- ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน และต้องมีหุ้นมากกว่าหนี้
- กู้ได้ทุกวันทำการ ยกเว้นวันสิ้นเดือน
- ส่งชำระไม่เกิน 300 งวด
- จ่ายเงินโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิกในสหกรณ์ หรือ จ่ายเป็นเช็ค
- สมาชิกต้องมากู้ด้วยตนเอง กรณีมอบอำนาจให้กรรมการประจำหน่วยหรือผู้ประสานงานสหกรณ์ ให้สหกรณ์จ่ายเป็นเช็คในนามสมาชิก
การกู้เงินสามัญเพื่อการดำรงชีพ (ด)
- กู้ได้ 10 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- ส่งชำระไม่เกิน 180 งวด หรือภายในอายุ 75 ปี ของผู้กู้
- ต้องมีหุ้น 20% ของวงเงินอนุมัติให้กู้
- สมาชิกค้ำประกัน 2 คน ต้องผูกพันเป็นบุคคลค้ำประกันสัญญาเดิมและค้ำได้ไม่เกินคนละ 3 สัญญา
- จ่ายเงินกู้เดือนละ 1 ครั้ง ในวันสิ้นเดือน
- จ่ายเงินโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิกในสหกรณ์
- สมาชิกผู้ได้รับเงินกู้แล้ว สามารถยื่นกู้เงินนี้ได้อีก หลังส่งชำระแล้ว 6 งวด
- สมาชิกต้องมีเงินเดือนคงเหลือหลังหักชำระหนี้งวดแรก 30%
การกู้ฉุกเฉิน ATM
- กู้ได้ 2 เท่าของเงินเดือน, ไม่เกิน 60,000 บาท, ไม่เกิน 96% ของทุนเรือนหุ้น
และไม่เกินเงินต้นของสัญญากู้พิเศษที่ส่งชำระคืนสหกรณ์ - ส่งชำระไม่เกิน 12 งวด หรือภายใน 1 ปี
- ไม่มีคนค้ำประกัน
- ยื่อกู้ได้ทุกวัน และอนุมัติในวันที่ยื่น
- จ่ายเงินโดยการกดรับเงินกู้ที่ตู้ ATM กรุงไทยเท่านั้น
การกู้เงินสามัญสวัสดิการเพิ่มความมั่นคง (ม)
- กู้ได้สูงสุดแต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยพิจารณาจากเงินเดือนคงเหลือ
- ส่งชำระไม่เกิน 180 งวด หรือภายในอายุ 75 ปี ของผู้กู้
- สมาชิกค้ำประกัน 2 คน ต้องผูกพันเป็นบุคคลค้ำประกันสัญญาเดิมและค้ำได้ไม่เกินคนละ 3 สัญญา
- จ่ายเงินกู้เดือนละ 1 ครั้ง ในวันสิ้นเดือน
- จ่ายเงินโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิกในสหกรณ์
- สมาชิกผู้ได้รับเงินกู้แล้ว สามารถยื่นกู้เงินนี้ได้อีก หลังส่งชำระแล้ว 6 งวด
- สมาชิกต้องมีเงินเดือนคงเหลือหลังหักชำระหนี้งวดแรก 30%
การกู้เงินสามัญเพื่อการบริหารจัดการหนี้สหกรณ์และสถาบันการเงินอื่น (บ)
- กู้ได้ 65 เท่า ไม่เกิน 3,000,000 บาท ส่งชำระ 180 งวด คำนวณงวดชำระหนี้แล้วสมาชิกอายุต้องไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์
- เป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 24 เดือน มีหุ้น 20% หรือไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
- สมาชิกต้องชำระหนี้เงินกู้สามัญเพื่อการดำรงชีพ ,เพื่อความมั่นคง ,กู้เงิน กบข. และหนี้สถาบันการเงินอื่น
- สมาชิกกู้มาแล้ว 12 งวด จึงมีสิทธิกู้ใหม่ได้ ต้องมีเงินเดือนเหลือ 30%
- ไม่มีประวัติการผิดนัดการชำระหนี้ และการชำระหนี้รายเดือนกับสหกรณ์ รวม 12 เดือนย้อนหลัง
- ทำประกันสินเชื่อเต็มวงเงินอนุมัติ
- ยินยอมให้สหกรณ์และผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่การเงินหักเพื่อชำระหนี้สหกรณ์
- สมาชิกไม่ส่งสัญญาตามที่สหกรณ์กำหนด หรือสัญญาไม่สมบูรณ์ สหกรณ์จะยกเลิกการกู้ทันที
- กรณีสมาชิกยกเลิกไม่กู้ ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบก่อนสหกรณ์จะดำเนินการชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินอื่น อย่างน้อย 1 วัน
- สมาชิกผู้ขอกู้ต้องตรวจเครดิตบูโรและแนบเอกสารการตรวจสอบมาด้วยทุกครั้ง
- ส่งคำขอกู้ได้ ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือน
- ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ธนาคารหักเงินจากบัญชีเพื่อชำระหนี้สหกรณ์ ตลอดไปจนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน และไม่เพิกถอนความยินยอมดังกล่าว
- ยินยอมให้สหกรณ์เปิดเผยข้อมูลให้แก่สถาบันการเงินอื่น
- ยินยอมให้สหกรณ์เปิดเผยข้อมูลให้แก่ทายาท บุคคลที่ระบุสิทธิให้ได้รับเงินสงเคราะห์ (ชพค.)
- เมื่อสมาชิกได้รับการอนุมัติการกู้สามัญแล้ว สหกรณ์จะชำระหนี้สถาบันการเงินอื่นให้
- สมาชิกต้องไปติดต่อขอรับเอกสารกับสถาบันการเงินที่สมาชิกขอกู้ถัดจากเดือนที่กู้เงินได้ ดังนี้
16.1 ขอรับใบเสร็จรับเงินกับสถาบันการเงินที่สหกรณ์ได้ชำระหนี้ให้เรียบร้อยแล้ว
16.2 ขอเวนคืนเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตจากสถาบันการเงิน
16.3 สอบถามดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารจะลดให้ - วงเงินกู้ ทุก 500,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน
ประเภทเงินฝาก
- เงินฝากออมทรัพย์
- จำนวนเงินเปิดบัญชีครั้งแรก 1,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี
- ในการรักษาบัญชี ต้องมีเงินคงเหลือในบัญชี ไม่น้อยกว่า 500 บาท
- เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
- จำนวนเงินเปิดบัญชีครั้งแรก 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี
- จำกัดจำนวนการถอน คือ สามารถถอนได้ 1 ครั้งต่อเดือน กรณีถอนมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือนจะถูกคิดค่าธรรมเนียมในการถอนอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ถอน โดยจะคิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 500 บาท
- ในการรักษาบัญชี ต้องมีเงินคงเหลือในบัญชี ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
เงื่อนไขการฝาก – ถอน เงินสดที่สหกรณ์ฯ
- สหกรณ์รับฝากเงินสด/ถอนเงินสด ไม่เกิน 5 แสนบาทต่อบัญชี เพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านธุรกรรมเงินสด หากสมาชิกมีความจำเป็นต้องทำธุรกรรมเงินสดเกินกว่ากำหนด ให้แจ้งสหกรณ์ฯทราบอย่างน้อย 1 วันทำการ ภายในเวลา 15.30 น.
เงื่อนไขการฝาก-ถอนเงิน จำนวนตั้งแต่ 1ล้านบาทขึ้นไป มีดังนี้
- ฝากเงินจำนวน 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท สหกรณ์ฯจะทำธุรกรรมให้ในวันถัดไป
- ฝากเงินจำนวน 3 ล้านบาทขึ้นไป สหกรณ์ฯจะทำธุรกรรมให้ใน 2 วันทำการถัดไป
- ถอนเงินจำนวน 1 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท แจ้งล่วงหน้า 1 วันทำการ (สหกรณ์จ่ายเป็นเช็ค)
- ถอนเงินจำนวน 5 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน10ล้านบาท แจ้งล่วงหน้า 2 วันทำการ (สหกรณ์จ่ายเป็นเช็ค)
- ถอนเงินจำนวน 10 ล้านบาทขึ้นไป แจ้งล่วงหน้า 5 วันทำการ (สหกรณ์จ่ายเป็นเช็ค)
การถอนเงินฝากออมทรัพย์ ผ่านระบบ ATM ธนาคารกรุงไทย
สหกรณ์กำหนดวงเงินที่สมาชิกสามารถถอนเงินฝากผ่านระบบ ATM ธนาคารกรุงไทยกี่ครั้งก็ได้ แต่จำนวนเงินที่ถอนรวมกันต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท ต่อวัน
กรณีมอบอำนาจรับเงินฝากออมทรัพย์ โดยมอบให้ คู่สมรส บุตร บิดา มารดา และสมาชิกเท่านั้น โดยนำบัตร ประจำตัวของเจ้าของบัญชีและผู้รับมอบมาด้วยทุกครั้ง ยกเว้น บัตรหมดอายุ
สวัสดิการ
ส่วนที่ 1 สวัสดิการให้เปล่า ประกอบด้วย
- การสงเคราะห์สมาชิกและคู่สมรส
1.1 สมาชิกเสียชีวิต จะได้รับเงินสงเคราะห์ตามอายุการเป็นสมาชิก นับเป็นเดือนคูณด้วย 100 บวกด้วย 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท
1.2 คู่สมรสเสียชีวิต จะได้รับเงินสงเคราะห์ครึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1.1 - ทุนบำเหน็จสมาชิก การจ่ายเงินบำเหน็จเมื่อสิ้นปีบัญชี สหกรณ์จะจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่สมาชิกดังนี้
2.1 จ่ายให้ทายาทเมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม
2.2 จ่ายให้สมาชิกเกษียณอายุราชการเมื่ออายุครบ 60 ปี
2.3 สมาชิกที่ได้รับเงินบำเหน็จอายุครบ 60 ปีแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อถึงแก่กรรม
การคำนวณเงินบำเหน็จ- ให้นับอายุการเป็นสมาชิก คูณด้วย 100 บาท (การนับอายุสมาชิกให้นับเป็นเดือน)
- ให้นำเงินค่าหุ้นของสมาชิกในรอบปีบัญชีสหกรณ์ คูณด้วย 5% แต่ไม่เกิน 25,000 บาท แล้วนำไปรวมกับ ข้อ 1 รวมเป็นเงินบำเหน็จที่สมาชิกจะได้รับในปีนั้น หุ้นที่นำมาคำนวณเงินบำเหน็จนี้เป็นรายเดือนที่ส่งตามปกติรวมกับหุ้นที่เกิดจากการซื้อไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- กรณีสมาชิกเกษียณอายุราชการหรือสมาชิกสหกรณ์อายุครบ 60 ปี ไม่ขอรับเงินบำเหน็จในปีนั้น ก็ให้ขอรับเงินบำเหน็จได้ในปีถัดไป โดยให้นับอายุการเป็นสมาชิกถึงปีที่เกษียณอายุครบ 60 ปี
สมาชิกถึงแก่กรรม ทายาทไม่มาติดต่อขอรับเงินบำเหน็จภายใน 1 ปี ถือว่าสละสิทธิ์ (ตามระเบียบข้อ 15)
การจ่ายเงินบำเหน็จสมาชิก สหกรณ์จะจ่ายให้สมาชิกในวันสิ้นเดือน ตุลาคม ของทุกปี โดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในสหกรณ์
- การจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกผู้อาวุโส สมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป สหกรณ์จ่ายให้สมาชิก เมื่อครบรอบในเดือนเกิด ซึ่งเป็นการมอบของขวัญวันคล้ายวันเกิดให้แก่สมาชิกที่สร้างคุณประโยชน์และพัฒนาให้สหกรณ์เจริญก้าวหน้า เป็นสหกรณ์แบบอย่างให้แก่สหกรณ์อื่นๆ ทั่วประเทศ โดยสหกรณ์จะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในสหกรณ์ ภายในวันสิ้นเดือนในเดือนเกิด สมาชิกสามารถถอนเงินฝากได้ในวันทำการในเดือนถัดไป โดยจ่ายให้สมาชิกที่มีอายุตามรายละเอียด ดังนี้ อายุตั้งแต่ 61 – 65 ปี ได้รับ 2,000 บาท อายุตั้งแต่ 66 – 70 ปีได้รับ 2,500 บาท อายุตั้งแต่ 71 ขึ้นไป ได้รับ 3,000 บาท สมาชิกรายใดที่ได้รับเงินสวัสดิการจากสหกรณ์ไปแล้ว หากลาออกหรือถูกให้ออกจากสหกรณ์ไม่ว่ากรณีใดๆ ให้สหกรณ์หักเงินค่าหุ้นของสมาชิกรายนั้นเพื่อเป็นการชดเชยเท่ากับจำนวนเงินรวมทุกปี ที่สหกรณ์ได้จ่ายให้แก่สมาชิกรายนั้นเข้าเป็นรายได้ของสหกรณ์
(ตามระเบียบข้อ 5 ) - เงินกองทุนสวัสดิการสมาชิก มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินกองทุนจ่ายเป็นสวัสดิการสงเคราะห์แก่ครอบครัวสมาชิก ที่ถึงแก่กรรม หรือจ่ายชำระหนี้ของสมาชิกที่ถึงแก่กรรม รายละ 300,000 บาท เงินกองทุนนี้จัดให้สมาชิกทุกคน ดังนี้
- เป็นสมาชิกก่อนวันที่ 1 ตุลาคม ของปีดำเนินการ
- สหกรณ์จะหักเงินสวัสดิการในอัตราร้อยละ 1 เพื่อสมทบเป็นกองทุนดำเนินการสวัสดิการ
- สมาชิกรายใดถึงแก่กรรม สหกรณ์จ่ายเงินกองทุนสวัสดิการ เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่ในสหกรณ์หากมีเงินสวัสดิการคงเหลือจึงจ่ายให้แก่ทายาทต่อไป
- ทายาทสมาชิก ได้แก่ คู่สมรส บุตร บิดา มารดา
- สมาชิกอาจแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร ให้จ่ายเงินสวัสดิการแก่ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ต้องเป็นบุคคลในครอบครัวหรือญาติ เท่านั้น
- ถ้าไม่มีทายาทมาติดต่อขอรับเงินสวัสดิการ สหกรณ์จะโอนเข้าเป็นเงินกองทุนสวัสดิการตามระเบียบ
- ให้ทายาทผู้มีสิทธิ์รับเงินสวัสดิการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรับเงินภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ถึงแก่กรรม
- เงินสวัสดิการนี้ไม่ถือเป็นเงินมรดก มติคณะกรรมการดำเนินการอนุมัติการจ่ายไม่ว่ากรณีใดๆ ถือเป็นอันสิ้นสุดจะนำไปฟ้องร้องมิได้
- การให้ทุนการศึกษาบุตรสมาชิก
- เป็นบุตรของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด ที่เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- การศึกษากำลังเรียนอยู่ในระดับปฐมวัยถึงระดับปริญญาตรี
- มีความประพฤติเรียบร้อย มีผลการเรียน คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 (ยกเว้นระดับปฐมวัย)
- เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมิใช่บุตรบุญธรรมของสมาชิกสหกรณ์
- เงื่อนไขการขอรับทุน
- ให้ตามจำนวนสมาชิก เฉลี่ย 20.33 ต่อสมาชิก 1 คน
- มูลค่าทุนละ 3,000 บาท
- สมาชิกที่บุตรได้รับทุนการศึกษาแล้ว จะลาออกจากสมาชิกสหกรณ์ไม่ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ได้รับทุนผู้ขอรับทุนการศึกษาบุตร
- สมาชิกผู้ขอรับทุนการศึกษาบุตรจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้รับทุนการศึกษาบุตรสมาชิกในปี 2563
ส่วนที่ 2 สวัสดิการที่สมาชิกประสงค์สมัครเอง ประกอบด้วย
- สวัสดิการ ส.ค.ส. 1 (ปิดการรับสมัคร)
สมาชิกจะได้รับเงินสงเคราะห์เมื่ออายุครบ 60 ปี จำนวน 40,000 บาท และเมื่อเสียชีวิต ทายาทจะได้รับอีก 60,000 บาท รวมเป็นเงิน 100,000 บาท แต่ถ้าหากสมาชิกเสียชีวิตก่อนเกษียณอายุก็จะได้รับ จำนวน 100,000 บาท การจ่ายสงเคราะห์แบ่งเป็น 2 งวด งวดที่ 1 จ่ายค่าจัดการศพ 20% จำนวน 20,000 บาท งวดที่ 2 จ่ายสงเคราะห์ศพ 80% จำนวน 80,000 บาท - สวัสดิการ ก.ส.ค. 1 (ปิดการรับสมัคร)
สมาชิกบริจาคเงินสมทบ 10,000 บาท ทายาทได้รับเงินสงเคราะห์เมื่อสมาชิกเสียชีวิตจำนวน 200,000 บาท - สวัสดิการ ก.ส.ค. 2 (ปิดการรับสมัคร)
สมาชิกบริจาคเงินสมทบ 10,000 บาท ทายาทได้รับเงินสงเคราะห์เมื่อสมาชิกเสียชีวิตจำนวน 200,000 บาท - สวัสดิการร่มเกล้าไทรทอง 2 (ปิดการรับสมัคร) สหกรณ์ได้จัดสวัสดิการให้ บิดา มารดา ของสมาชิกโดยจ่ายทุนสมทบตั้งแต่จำนวน 10,000 – 25,000 บาท ตามอายุบิดา มารดาของสมาชิก จ่ายเงินสงเคราะห์ 100,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด คือ งวดที่ 1 จ่ายสงเคราะห์ศพ 30% จำนวน 30,000 บาท งวดที่ 2 จ่ายสงเคราะห์ศพ 70% จำนวน 70,000 บาท
- สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด (ส.ส.อด.)
- เป็นสวัสดิการที่มีการดำเนินการของคณะกรรมการสมาคมโดยเฉพาะ แต่ก็ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันและสามารถนำเงินสงเคราะห์ที่พึงจะได้รับมาประกันหนี้สหกรณ์ได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 ประเภท ก.ข.ค. ประกอบด้วย สมาชิก คู่สมรส บุตรสมาชิก จ่ายสงเคราะห์ให้สมาชิกที่เสียชีวิต ศพละ 20 บาท คูณด้วยจำนวนสมาชิกกลุ่ม สมาชิกเสียชีวิตทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์ประมาณ 270,000 บาท
- กลุ่มที่ 2 ประเภท ง ประกอบด้วย บิดา-มารดาสมาชิก จ่ายสงเคราะห์ให้สมาชิกที่เสียชีวิตศพละ 20 บาท คูณด้วยจำนวนสมาชิกกลุ่ม
- สมาชิกเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินสงเคราะห์ประมาณ 130,000 บาท
- หมายเหตุ การชำระเงินสงเคราะห์ศพ
- สมาชิกกลุ่มที่ 1 ถึงแก่กรรม สมาชิกในกลุ่มที่ 2 มีหน้าที่ ชำระเงินสงเคราะห์ศพ รายละ 5 บาท
- สมาชิกกลุ่มที่ 2 ถึงแก่กรรม สมาชิกในกลุ่มที่ 1 มีหน้าที่ ชำระเงินสงเคราะห์ศพ รายละ 5 บาท